ฉันได้พบบทกวีบทหนึ่ง ซึ่งได้พูดถึง “ทุกข์ของชาวนา” มันเป็นบทกวีที่ดีมากและฉันอยากให้เพื่อนๆได้อ่านจึงนำมันมาลงให้ได้ชม และดูในสิ่งที่คนบางคนอาจจะไม่มีโอกาสที่จะได้รู้สึกว่าการที่คนเราเป็นชาวนาเค้า...รู้สึกอย่างไร
เปิปข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิปกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน
ดูจากสรรพนามที่ใช้ว่า “กู” ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้นชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ “ลำเลิก” กับใครๆว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน เราควรต้องรู้จักให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆถึงแม้มันอาจดูเป็นสิ่งที่มีค่าเล็กน้อย อย่างเช่น “ข้าว” แต่จงเชื่อว่าถึงแม้มันอาจจะเป็นสิ่งที่เมื่อดูด้วยตาเปล่าจะเป็นสิ่งที่ดูเล็กๆ แต่ถ้ามองดูให้ลึก มองแล้วคิดตามไปว่ากว่าจะเป็นข้าวที่มาอยู่ในจานข้าวนี้ที่เรากิน ใครบางคนซึ่งเราอาจไม่เคยสนใจไม่รับรู้ในสิ่งที่เขาทำนั้น เขาคนนั้นอาจจะต้องลำบากก้มๆเงยๆกี่ครั้งจนกว่าจะเป็นข้าวในจานนี้ที่เรากิน จึงอยากให้ทุกคนลองคิดถึงบุญคุณของคนที่ถึงแม้อาจจะไม่ใช่คนในบรรดาญาติมิตร พ่อแม่ หรือคนรู้จักก็ตาม แต่ก็อยากให้ทุกคนรู้จักบุญคุณของคนคนนั้น คนคนนั้นซึ่งเป็นชาวนา
เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
๑. ความหมายของชื่อเรื่อง
"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี" หมายถึง ความทุกข์ของชาวที่ปรากฏในบทกวี
ความทุกข์ คือความลำบาก เดือดร้อน ทุกข์ยาก ๒. ผู้นิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
๓. ลักษณะของคำประพันธ์ เรียงความ
๔. ที่มาของเรื่อง นำมาจากหนังสือมณีพลอยร้อยแสง หมวดชวนคิดพิจิตรภาษา
นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ
๕. จุดมุ่งหมายในการแต่ง แสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทย และบทกวีของจีน
ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา
๖. เนื้อเรื่อง/สาระสำคัญ ตอนแรก แสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่าง ๆ ของชาวนา เช่น ปัจจัยในการผลิต
การพยุง หรือประกันราคาข้าว และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวง ซึ่งคนในสังคมไม่เคย
ช่วยเหลือชาวนาได้และชาวนาก็ไม่มีโอกาสหรือมีสิทธิ์ที่จะอุทรณ์กับใครได้
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนาอีกด้วย
ตอนที่สอง ทรงแปลบทกวีจีน ของหลี่เชินเป็นภาษาไทย
ซึ่งทำให้ทราบถึงสภาพชีวิตของชาวนาจีนกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกันมากนัก
ตอนท้ายเรื่อง พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ความทุกข์ของชาวนาที่เป็นปัญหาในอดีต
ก็ยังคงเป็นปัญหาสะเทือนใจต่อคนในยุคคอมพิวเตอร์
๗. ลักษณะของบทกวีไทยและบทกวีจีน บทกวีของไทย เป็นของ จิตร ภูมิศักดิ์
บทกวีของจีน เป็นของ หลี่เชิน
ความเหมือนกัน เนื้อหาของบทกวีทั้งสอง นำเสนอเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวนา
ความแตกต่างกัน วิธีการนำเสนอของกวีต่างกันคือ
กวีไทย นำเสนอเสมือนนำชาวนามาบรรยายเรื่องราวของตนให้ผู้อื่นฟัง
กวีจีน นำเสนอ เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม
๘. ข้อคิดจากเรื่อง เราควรรู้คุณค่าของข้าวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวมาแต่ละเมล็ด
ล้วนเกิดจากความเหนื่อยยากของชาวนา เพราะฉะนั้นไม่ควรกินทิ้งกินขว้างให้เสียประโยชน์
เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
๑. ความหมายของชื่อเรื่อง
"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี" หมายถึง ความทุกข์ของชาวที่ปรากฏในบทกวี
ความทุกข์ คือความลำบาก เดือดร้อน ทุกข์ยาก ๒. ผู้นิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
๓. ลักษณะของคำประพันธ์ เรียงความ
๔. ที่มาของเรื่อง นำมาจากหนังสือมณีพลอยร้อยแสง หมวดชวนคิดพิจิตรภาษา
นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ
๕. จุดมุ่งหมายในการแต่ง แสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทย และบทกวีของจีน
ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา
๖. เนื้อเรื่อง/สาระสำคัญ ตอนแรก แสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่าง ๆ ของชาวนา เช่น ปัจจัยในการผลิต
การพยุง หรือประกันราคาข้าว และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวง ซึ่งคนในสังคมไม่เคย
ช่วยเหลือชาวนาได้และชาวนาก็ไม่มีโอกาสหรือมีสิทธิ์ที่จะอุทรณ์กับใครได้
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนาอีกด้วย
ตอนที่สอง ทรงแปลบทกวีจีน ของหลี่เชินเป็นภาษาไทย
ซึ่งทำให้ทราบถึงสภาพชีวิตของชาวนาจีนกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกันมากนัก
ตอนท้ายเรื่อง พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ความทุกข์ของชาวนาที่เป็นปัญหาในอดีต
ก็ยังคงเป็นปัญหาสะเทือนใจต่อคนในยุคคอมพิวเตอร์
๗. ลักษณะของบทกวีไทยและบทกวีจีน บทกวีของไทย เป็นของ จิตร ภูมิศักดิ์
บทกวีของจีน เป็นของ หลี่เชิน
ความเหมือนกัน เนื้อหาของบทกวีทั้งสอง นำเสนอเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวนา
ความแตกต่างกัน วิธีการนำเสนอของกวีต่างกันคือ
กวีไทย นำเสนอเสมือนนำชาวนามาบรรยายเรื่องราวของตนให้ผู้อื่นฟัง
กวีจีน นำเสนอ เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม
๘. ข้อคิดจากเรื่อง เราควรรู้คุณค่าของข้าวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวมาแต่ละเมล็ด
ล้วนเกิดจากความเหนื่อยยากของชาวนา เพราะฉะนั้นไม่ควรกินทิ้งกินขว้างให้เสียประโยชน์